โรคอ้วน

ในปัจจุบัน หากลองสังเกตคนที่อยู่รอบๆ ตัวเรา จะเห็นคนที่อ้วนลงพุงมากมาย หรือหากเราเองก็เป็นคนอ้วนลงพุง ลองมาดูสิว่า ถึงขนาดที่เรียกว่า โรคอ้วนลงพุง หรือไม่ และมีวิธีแก้ไข พร้อมคำแนะนำในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
ขอขอบคุณ ศ.นพ.สุรัตน์ โคมินทร์
หน่วยโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์
ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี


การมีพุงนั้นสำคัญไฉน



ความอ้วน นอกจากทำให้สวยน้อยลงแล้ว ยังเป็นสาเหตุของสารพัดโรค ยิ่งอ้วนก็ยิ่งมีโรคได้หลายอย่างมากขึ้น ที่ผ่านมาเรารู้จักแต่คำว่า ดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นตัวชี้บ่งว่าอ้วน  หากมี BMI ตั้งแต่ 25 กก./ม2 ขึ้นไป แต่ในระยะหลังพบว่าความเสี่ยงต่อโรคมีมาก  โดยเฉพาะผู้ที่มีลักษณะอ้วนลงพุง คือ จะมีสะโพกเล็ก ไหล่กว้าง และลงพุง ซึ่งเป็นลักษณะอ้วนที่อันตรายที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าคนอ้วนสองคน ที่มีน้ำหนักตัวมากเท่ากัน คนอ้วนที่ลงพุงมากจะเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือดได้มากกว่าคนอ้วนที่สะโพกใหญ่           อ้วนลงพุง เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในบริเวณช่องท้องมากกว่าปกติ ในขณะเดียวกันก็สะสมในอวัยวะที่สำคัญ และอันตรายได้ง่ายด้วย




จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในช่วง 5-6 ปีมานี้ พบว่าคนไทยอายุ 35 ปีขึ้นไป มีปัญหาการลงพุงเกือบร้อยละ 30 หรือประมาณ 12 ล้านคน หรืออาจกล่าวได้ว่า ในคนไทย 3 คนจะพบคนอ้วนลงพุง 1 คน หากถูกจัดเข้ากลุ่มอ้วนลงพุงแล้ว จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนลงพุง หรือ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า เมตาบอลิคซินโดรม (Metabolic Syndrome) จากการศึกษาในโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยการวัดสัดส่วนของร่างกายร่วมกับตรวจผลเลือด พบว่า คนที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 23.0-24.9 กิโลกรัม/เมตร2 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ท้วม หรือเริ่มอ้วน [ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก(กิโลกรัม)/ส่วนสูง(เมตร)/ส่วนสูง(เมตร)]  จะมีคนอ้วนลงพุงประมาณครึ่งหนึ่ง และครึ่งหนึ่งในคนจำนวนนี้จะมีผลเลือดผิดปกติเข้าได้กับเป็นโรคอ้วนลงพุง หรืออาจกล่าวโดยคร่าวๆว่าคนที่ดูท้วมๆก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนลงพุงได้ร้อยละ 25 และเมื่อดัชนีมวลกายมากขึ้นไปอีก ก็จะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้นอีก และอาจมากถึงประมาณร้อยละ 50
ลงพุงแล้วเมื่อไหร่จึงเป็นโรคอ้วนลงพุง


           เมื่อพบมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว ในชาย และเส้นรอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้วในหญิงแล้ว พร้อมกับพบปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีกตั้งแต่ 2  อย่างขึ้นไปใน 4  อย่างต่อไปนี้ ก็จัดได้ว่าคุณเป็นโรคอ้วนลงพุง แล้ว


ปัจจัยเสี่ยง 4  อย่าง ได้แก่


           1.    ความดันโลหิต ตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป          
           2.    ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (Triglyceride > 150 mg/dL)          
           3.    ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (Fasting Plasma Glucose  > 100 mg/dL)          
           4.    ระดับโคเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด หรือ High Density Lipoprotein (HDL-cholesterol)
                  น้อยกว่า 40  มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ชาย และน้อยน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้หญิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น